kpi ศิลปะการสื่อสารจูงใจ 1 = ต่ำกว่าเกณฑ์ หมายถึง ไม่สามารถปฏิบัติตามดัชนีชี้วัดความสำเร็จขั้นพื้นฐานได้ 2 = ขั้นพื้นฐาน หมายถึง มีหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้มีความสามารถในการวางแผนในการพัฒนาองค์กรในประเด็นต่อไปนี้ (1) ใช้ความพยายามขั้นต้นในการจูงใจ • มีการเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนออย่างรอบคอบละเอียดถี่ถ้วน อาจมีการนำเสนอประเด็น ข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันในการบรรยายหรืออภิปรายเพื่อความกระจ่าย หรือเพื่อจูงใจให้เห็นด้วย (2) นำเสนออย่างตรงไปตรงมา • นำเสนอความเห็นอย่างตรงไปตรงมาในการอภิปราย หรือนำเสนอผลงาน อาจยกเหตุผลความเป็นมาข้อมูลหรือความสนใจของผู้ฟังมาประกอบการพูด หรือการนำเสนอ หรือยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมาประกอบการนำเสนอ เช่น ภาพประกอบหรือการสาธิต เป็นต้น แต่ยังมิได้ปรับรูปแบบการนำเสนอตามความสนใจและระดับของผู้ฟัง 3 = ขั้นดี หมายถึง ปฏิบัติตามดัชนีชี้วัดความสำเร็จขึ้นพื้นฐานได้ และ (3) ใช้ศิลปะจูงใจ • ปรับรูปแบบการนำเสนอและอภิปรายให้เหมาะสมกับความสนใจและระดับของผู้ฟัง คาดการณ์ถึงผลกระทบของสิ่งที่นำเสนอและภาพพจน์ของผู้พูดที่จะมีต่อผู้ฟัง • ใช้รูปแบบการนำเสนอที่วางแผนไว้ล่วงหน้ามาอย่างดี ตื่นตาตื่นใจและแปลกใหม่ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ฟังในทิศทางที่ตนต้องการ อีกทั้งคาดการณ์และเตรียมการไว้ล่วงหน้าเพื่อรับมือกับปฏิกิริยาของผู้ฟังที่อาจเกิดขึ้น (4) ใช้อิทธิพลทางอ้อมในการจูงใจ • โน้มน้าวใจผู้ฟังทางอ้อมด้วยการชักจูงเป็นลูกโซ่ เช่น “ให้คุณ ก.แสดงให้คุณ ข. เห็นเพื่อให้คุณ ข. ไปบอกคุณ ค.ต่อไปอีกทอดหนึ่ง” เป็นต้น มีการปรับแต่ละขั้นตอนในการสื่อสาร นำเสนอและจูงใจให้เหมาะสมกับผู้ฟังแต่ละกลุ่มหรือแต่ละราย • ใช้ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ มาช่วยให้การสื่อสารจูงใจได้ผลดียิ่งขึ้น 4 = ขั้นดีเด่น หมายถึง ปฏิบัติตามดัชนีชี้วัดความสำเร็จขั้นดีได้ และ (5) ใช้กลยุทธ์ซับซ้อนในการจูงใจ • สร้างกลุ่มสนับสนุนอยู่เบื้องหลังหรือกลุ่มแนวร่วมเพื่อช่วยสนับนุนผลักดันแนวคิด แผนงาน โครงการ ฯลฯ ให้สัมฤทธิ์ผล • ใช้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับปฏิกิริยาของผู้รับสาร พฤติกรรมกลุ่ม จิตวิทยามวลชน ฯลฯ ให้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารจูงใจ